หนึ่งในนาฬิกาเรือนหรูที่หลายคนหมายตา คงจะหนีไม่พ้น นาฬิกา tag heuer เป็นแน่ บทความนี้จะชวนทุกคนมาเลือกนาฬิกาเรือนหรู นาฬิกา tag heuer นี้กันค่ะ มาดูวิธีการเลือกนาฬิกา TAG Heuer กันค่ะ
นาฬิกา tag heuer มีคอกเลคชันให้เลือกมากถึง 7 คอลเลกชันค่ะ ซึ่งแต่ละคอลเลกชันก็ถูกออกแบบมาให้มีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นนาฬิกาแบบเรียบหรู นาฬิกาดำน้ำ หรือ Smartwatch ก็มีให้เลือกสรรด้วยเช่นกันค่ะ
มาเริ่มต้นที่ TAG Heuer “Carrera” เป็น นาฬิกา tag heuer จับเวลาที่โดดเด่นซึ่ง Carrera นับว่าเป็นคอลเลกชันรุ่นบุกเบิกของ TAG Heuer และได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1963 ในงานแข่งรถ Carrera Panamericana Mexico Road Race เพื่อใช้เป็นนาฬิกาจับเวลาสำหรับนักแข่งมืออาชีพ ซึ่งต่อมาในปัจจุบัน Carrera ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของนาฬิกาสปอร์ตสำหรับนักแข่งรถนั่นเองค่ะ และคอลเลกชันนี้มีตัวเลขและเข็มนาฬิกาที่สะท้อนแสง ซึ่งสามารถอ่านค่าได้ง่ายแม้ในขณะแข่งรถ สายและข้อต่อแข็งแรง รับกับขนาดข้อมือได้เป็นอย่างดี มาพร้อมกับเม็ดมะยม และปุ่มกดที่ทำจากโลหะล้วน ๆ ทำให้มีรูปลักษณ์ที่ดูหรูหรา แต่ยังให้กลิ่นอายของความเป็นนาฬิการถแข่งอยู่อีกด้วยค่ะ
คอลเลกชั่นถัดมาเป็น TAG Heuer “Formula 1” นาฬิกาสปอร์ตลำลองเข้าได้กับทุกไลฟ์สไตล์ชีวิต TAG Heuer Formula 1 เป็นคอลเลกชันที่ออกแบบมาเพื่อเป็นนาฬิกาจับเวลาอย่างเป็นทางการของการแข่งขัน Formula 1 เป็นคอลเลกชันนาฬิกาแข่งรถที่ได้รับแรงบันดาลใจจากนักแข่งระดับโลก ด้วยคุณสมบัติที่หลากหลาย สวมใส่ได้ทุกวัน และเหมาะกับทุกสถานการณ์ อีกทั้งยังเป็นนาฬิกาสปอร์ตลำลองที่ยังคงความหรูหรา โดยมีรอยบากที่เป็นสัญลักษณ์แทนความ Luxury อยู่ตรงเม็ดมะยม อีกด้วยค่ะ
นาฬิกาคอลเลกชันนี้ “Formula 1” นี้มาพร้อมกับสายรัดข้อมือโลหะที่สามารถปรับขยายได้ ทั้งยังผ่านการทดสอบคุณภาพมามากกว่า 60 ครั้ง ว่ามีความทนทานและสามารถทนต่อแรงกระแทกได้ ตอกย้ำความเป็นนาฬิกาที่สามารถใส่ได้ในทุกสถานการณ์ชีวิต และที่สำคัญยังเป็นคอลเลกชันเดียวของ TAG Heuer ที่บางรุ่นตัวเรือนจะประดับด้วยสัญลักษณ์โล่ของ TAG Heuer แบบมีสีอีกด้วยค่ะ
ต่อมาเป็นคอลเลกชั่น TAG Heuer “Aquaracer” สุดยอดนวัตกรรมของโลกนาฬิกาทางน้ำ คอลเลกชัน Aquaracer เป็นอีกหนึ่งคอลเลกชันนาฬิกาสปอร์ตของ TAG Heuer ที่สามารถปรับเข้าได้กับทุกไลฟ์สไตล์ และเหมาะมากสำหรับผู้ที่ไม่อยากถอดนาฬิกาเมื่ออยู่ในพื้นที่ที่อาจเปียกน้ำได้ โดยคอลเลกชันนี้มีเม็ดมะยมแบบเกลียวหมุน ที่มาพร้อมกับตัวรองกันซึมถึงสองชั้น เพื่อป้องกันฝุ่นและน้ำ นอกจากนี้ ยังมีสายข้อมือสเตนเลสสตีล ที่นอกจากจะแข็งแรงแล้ว ฟังก์ชันส่วนขยาย ให้เราสามารถขยายขนาดสำหรับการสวมใส่ทับถุงมือได้
ยิ่งไปกว่านั้น จุดเด่นอีกอย่างหนึ่งคือ มีตัวล็อกนิรภัยป้องกันไม่ให้นาฬิกาหลุดโดยไม่ได้ตั้งใจอีกด้วย หมดกังวลเรื่องนาฬิกาหลุดหายได้เลยทีเดียวค่ะ และสำหรับคอลเลกชัน Aquaracer นี้มีแบบนาฬิกาให้เลือกมากถึง 60 แบบ ซึ่งก็มีระดับความลึกในการกันน้ำให้เลือกต่างกันตามไลฟ์สไตล์ของแต่ละคน สำหรับคอลเลกชันนี้คงจะเรียกได้ว่าเป็นนาฬิกาดำน้ำอีกด้วย
คอลเลกชั่นต่อมา TAG Heuer “Monaco” นาฬิกาทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส ความคลาสสิกที่ลงตัว Monaco อีกหนึ่งในคอลเลกชันที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากการแข่งรถ เน้นไปที่ดีไซน์อันคลาสสิกแต่ยังคงความล้ำสมัยในเวลาเดียวกัน สำหรับ Monaco เป็นคอลเลกชันที่โดดเด่นเรื่องของรูปลักษณ์ ที่ผสานความวินเทจและความร่วมสมัยได้อย่างกลมกลืน โดยมีเอกลักษณ์อยู่ที่นาฬิการูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส และการตัดขอบของกรอบนาฬิกาที่ทำมุมราวกับขอบของคริสตัล นอกจากนี้ ยังมีกรอบที่ป้องกันรอยขีดข่วน สำหรับคอลเลกชัน Monaca คงจะเรียกได้ว่าเป็นคอลเลกชันคลาสสิกของ TAG Heuer ที่เมื่อใคร ๆ เห็นก็ต้องจำได้ในทันทีเลยค่ะ
ต่อมาเป็นคอลเลกชั่น นาฬิกา tag heuer “Autavia” จิตวิญญาณของนักผจญภัย TAG Heuer Autavia เป็นคอลเลกชันที่เริ่มต้นการออกแบบมาจากเครื่องบินและรถยนต์ แต่ปัจจุบันได้กลายเป็นนาฬิกาแนววินเทจ ที่คงกลิ่นอายของ Autavia รุ่นแรกไว้อยู่ คอลเลกชันนี้ได้รับการออกแบบด้วยแนวคิด “ผู้ที่ใช้ชีวิตให้เหมือนกับการผจญภัย” หน้าปัดนาฬิกามีตัวเลขและเข็มของนาฬิกาที่มองเห็นได้อย่างชัดเจน และสามารถเรืองแสงในที่มืดได้ ทำให้อ่านค่าได้ง่ายไม่ว่าจะในเวลากลางวันหรือกลางคืน
นอกจากนี้ ยังมีสายนาฬิกาที่สามารถเปลี่ยนสายได้อย่างง่ายดาย และใส่สายได้หลายชนิด ทั้งสายหนังและสเตนเลส ทำให้คุณสามารถเปลี่ยนสไตล์ได้ง่ายและใช้งานได้หลากหลายยิ่งขึ้นอีกด้วย
คอลเลกชั้นที่เด่นชัดเป็นเอกลักษณ์ TAG Heuer “Link” สัญลักษณ์แห่งความสปอร์ตและสง่างาม สำหรับ Link เป็นคอลเลกชันที่มีเอกลักษณ์อยู่ที่สายนาฬิการูปตัว S ที่แสดงให้เห็นถึงการผสานกันระหว่างความเคลื่อนไหวกับความสวยงามที่แข็งแกร่ง นาฬิกาในคอลเลกชันนี้เป็นนาฬิกาที่แข็งแรง แต่กลับมีน้ำหนักเบาราวกับไม่ได้สวมใส่อยู่ สายนาฬิกาทำจากสเตนเลสที่ได้รับการขัดเงาอย่างดี ทำให้สามารถเปล่งประกายได้ไม่ว่าจะใส่ในเวลากลางวันหรือกลางคืน การออกแบบสายข้อมือรูปทรงตัว S ของ Link เป็นการออกแบบนาฬิกาหรูร่วมสมัยที่ประสบความสำเร็จมากของ TAG Heuer ซึ่งนอกจากจะให้ความรู้สึกหรูหราแล้ว ยังให้ความรู้สึกถึงความเป็นนาฬิกาสปอร์ตในเวลาเดียวกัน
มาดูคอลเลกชั่นสุดท้ายอย่าง TAG Heuer “Connected” Smartwatch สุดหรู ตอบโจทย์ทุกการออกกำลังกาย TAG Heuer Connected เป็นคอลเลกชันแรกและคอลเลกชันเดียวของ TAG Heuer ที่เป็น Smartwatch ซึ่งผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีสมัยใหม่กับความสวยงามแบบคลาสสิกได้อย่างลงตัว ตัวเรือนประกอบไปด้วยปุ่มกดแบบสปอร์ต, หน้าจอป้องกันรอยขีดข่วนได้ 100%, กรอบเซรามิกขัดเงา, GPS, เซนเซอร์ และตัววัดอัตราการเต้นของหัวใจเลยทีเดียว
จุดกำเนิด นาฬิกา Tag heuer
สำหรับจุดเริ่มต้นของนาฬิกา tag heuer นั้น เกิดจาก ฮอยเออร์ (Heuer) เกิดขึ้นจากแรงบันดาลใจของ เอดูอารค์ ฮอยเออร์ (Edouard Heuer) ผู้ก่อตั้งโรงงานผลิตนาฬิกาเล็ก ๆ ในปี คศ. 1860 ขึ้นใน เมือง แซงต์ อิมิเยร์ (St. Imier) เมืองเดียวกับโรงงานผลิต นาฬิกา Longines ในเวลาไม่นานนักบริษัทของเขาก็มีชื่อเสียงขึ้นในระดับสากลถึงความเป็นสปอร์ตอันทรงคุณค่า จากความลุ่มหลงในกีฬา และการคิดค้นใหม่ ๆ โดยเฉพาะในช่วงแรก ๆ ของฮอยเออร์นั้น เมื่อคนพูดถึงนาฬิกาจับเวลา นาฬิกาจับเวลาที่ฮอยเออร์ผลิตออกมานั้น มีตั้งแต่นาฬิกาจับเวลาขนาดใหญ่ไปจนถึงนาฬิกาข้อมือ และมีการพัฒนาคิดค้นรูปแบบใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง เช่นในปี 1911 ฮอยเออร์ได้เปิดตัวนาฬิกาจับเวลาแบบติดตั้งในรถยนต์ขึ้นเป็นเรือนแรก และหลังจากนั้น 5 ปี ก็สามารถผลิตนาฬิกาจับเวลาได้ละเอียดถึง 1/100 วินาทีเป็นรายแรกเลยทีเดียว
ฮอยเออร์นั้นมีพรสวรรค์ในการผลิตนาฬิกาจับเวลาหรือโครโนกราฟอย่างแท้จริงแม้ว่าในตอนแรกเริ่มโรงงานของเขาเองไม่สามารถผลิตกลไกจับเวลาได้ เขาได้ใช้เครื่องจากผู้ผลิตชื่อดังต่าง ๆ เช่น ฮาห์น แลนเดรอน (Hahn Landeron) เลอมาเนีย (Lemania) รวมทั้ง วัลฌูส์ (Valjoux) มาปรับแต่งและประกอบเข้ากับตัวเรือนอีกด้วย
ปี ค.ศ. 1966 ได้ร่วมมือกับ ไบรท์ลิ่ง(Breitling) ดูบัวส์-เดปราซ์ (Dubois-Deparz) และแฮมิลตัน-บิวเรน(Hamilton-Buren) พัฒนาเครื่อง Cal.11 โดยแฮมิลตัน-บิวเรนรับหน้าที่พัฒนากลไกออโตเมติกแบบพิเศษ ดูบัวส์ พัฒนาโมดูลระบบกลไกโครโนกราฟ ในส่วนฮอยเออร์และไบรท์ลิ่งร่วมกันผลิตและพัฒนาชิ้นส่วนที่เหลือรวมทั้งออกแบบตัวเรือนและหน้าปัด ใช้เวลาประมาณ 3 ปี ทำให้โครโนกราฟรุ่นนี้มีจุดเด่นหลายอย่างที่แตกต่างจากเครื่องที่มีอยู่ในตลาดเวลานั้น เช่นปุ่มกดและเม็ดมะยมจะอยู่คนละฝั่งกัน โดยปุ่มกดจะอยู่ที่ตำแหน่ง 2 และ 4 นาฬิกา ส่วนมะยมจะอยู่ในตำแหน่ง 9 นาฬิกา นอกจากนี้ยังสร้างระบบพลังงานสำรองเป็นแบบ ขึ้นลานอัตโนมัติโดยการให้ลูกเหวี่ยงแบบ ไมโครโรเตอร์(Microrotor) ฝังอยู่ด้านหลังเครื่องฝั่งหน้าปัด เมื่อมองจากด้านหน้าเครื่องจะเห็น เหมือนกับเป็นเครื่องไขลานปกติ และยังมีความหนาที่ลดลงอีกด้วย
Edouard Heuer นั้นทุ่มเทในกับความแม่นยำและเที่ยงตรงด้วยจิตวิญญาณของคนรักกีฬา เมื่อเขาก่อตั้งโรงงานในปี 1860 ความมุ่งมั่นอย่างเดียวของเขาก็คือ ยกระดับการจับเวลาให้อยู่ในระดับสูง จากนั้นเป็นต้นมาฮอยเออร์ก็ได้ชื่อว่า เป็นAvant-garde หรือ นักคิดค้นแห่งศิลปะการจับเวลา ไม่ว่าจะเป็นในด้านเทคโนโลยีหรือวัสดุ รวมทั้งดีไซน์สวยจับใจ
ฮอยเออร์ได้รับสิทธิบัตรมากมายในการประดิษฐ์คิดค้นซึ่งเป็นการยืนยันถึงอัจฉริยภาพของเขา
ฮอยเออร์เป็นผู้จับเวลาอย่างเป็นทางการของการแข่งแชมป์โลกสกี รถสูตร 1 Formula 1 รวมทั้งกีฬาอื่น ๆ อันนำมาซึ่งแรงบันดาลใจในการพัฒนาเทคโนโลยีการจับเวลาเลยทีเดียว
ในช่วงปี 1999 Tag Heuer ได้เข้ารวมกลุ่มกับ LVMH (Louis Vuitton-Mot Hennessy) ซึ่งในกลุ่มนี้มีนาฬิกา Zenith, Ebel Chaumet, Benedom และ Fred รวมอยู่ด้วย ทำให้ปัจจุบัน Tag Heuer เป็นส่วนหนึ่งของผู้ผลิตนาฬิกาที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลกเลยทีเดียว
โครโนกราฟ คือ นาฬิกาอะไร
คำว่า นาฬิกา Chronograph คืออะไรกัน ซึ่งคำนี้มักใช้ในแวดวงนาฬิกาจับเวลา บทความนี้มีคำตอบมาฝากกันค่ะ
คำว่า ‘Chronograph’ โครโนกราฟ คือ “นาฬิกาจับเวลา” นั่นเองค่ะ ซึ่งบริษัทผลิตนาฬิกาข้อมือได้จับเอาฟังก์ชั่นโครโนกราฟมาใส่ในนาฬิกาเพื่อใช้ในการจับเวลาการแข่งขันกีฬาด้านความเร็ว เช่น การแข่งรถเป็นอันดับแรก และ FUN FACT ของนาฬิกาโครโนกราฟ นั่นหมายความว่า เวลาที่นักแข่งรถในสมัยนั้นสวมนาฬิกาโครโนกราฟลงแข่งขัน พวกเขามักจะใส่นาฬิกาโดยหันหน้าปัดมาไว้ที่ด้านในข้อมือแทน การทำเช่นนี้จะช่วยให้คนขับมองเห็นเวลาได้ง่ายขึ้นในขณะที่จับพวงมาลัยเลยทีเดียว
นักแข่งรถในสมัยก่อนมักนิยมหันหน้าปัดนาฬิกา Chronograph มาไว้ด้านในข้อมือเช่นนี้เวลาลงแข่ง เพื่อสะดวกในการอ่านและจับเวลา วิธีการใช้งานโครโนกราฟแบบพื้นฐานแรกสุดก็คือการจับเวลาแบบง่าย ๆ เริ่มที่การกดปุ่มเริ่มจับเวลาที่ตำแหน่ง 2 นาฬิกา เข็มวินาทีอันใหญ่สุดจะค่อยๆเดินไปเรื่อย ๆ เพื่อจับเวลา และเมื่อเสร็จสิ้นการจับเวลาก็กดปุ่มเดิมเพื่อหยุดจับเวลาอีกด้วย
จากนั้นจึงอ่านดูว่าเข็มวินาทีนั้นเดินกินเวลาไปเท่าไหร่ และเมื่อต้องการเริ่มใหม่ก็แค่กดปุ่ม Reset ที่อยู่ในตำแหน่ง 4 นาฬิกา ระบบจับเวลาทั้งหมดจะกลับสู่ตำแหน่งเดิมเพื่อเตรียมการจับเวลาใหม่ค่ะ ลองฝึกใช้ฟังก์ชั่นเบื้องต้นนี้ให้คล่อง เท่านี้ก็ถือเป็นการเริ่มต้นทำความรู้จักกับ Chronograph ในขั้นแรกแล้วค่ะ
ต่อมาเป็น หน้าปัดย่อย “Subdials” ถัดจากการใช้งานพื้นฐานที่สุดก็คือการทำความรู้จักกับหน้าปัดย่อย Subdial บนนาฬิกา Chronograph เป็นลำดับต่อไป อย่างแรกที่เราควรสังเกตก็คือ เข็มวินาทีที่อยู่บนหน้าปัดใหญ่ของนาฬิกาโครโนกราฟนั้นปกติแล้วจะอยู่นิ่งๆที่ตำแหน่ง 12 นาฬิกาเสมอ เพื่อเตรียมพร้อมเดินเมื่อเรากดปุ่มจับเวลาที่ 2 นาฬิกา ซึ่งตรงนี้จะแตกต่างจากนาฬิกาที่ไม่ใช่โครโนกราฟที่เข็มวินาทีเข็มนี้จะเดินกวาดไปเรื่อย ๆ แต่เข็มที่บอกวินาทีตัวจริงของนาฬิกาโครโนกราฟจะไปอยู่ตรงหน้าปัดย่อยเล็ก ๆ ช่องหนึ่งแทน เราเรียกหน้าปัดย่อยอันนี้ว่า Watch’s Second Hand Subdial หน้าปัดย่อยบอกวินาทีของนาฬิกาหลัก จากตัวอย่างของ Tissot Chrono XL เรือนที่เรานำมาเป็นแบบนี้ หน้าปัดย่อยดังกล่าวจะอยู่ด้านล่างตรงตำแหน่ง 6 นาฬิกา ซึ่งเข็มวินาทีในหน้าปัดย่อยนี้จะเดินไปเรื่อย ๆไม่มีหยุด ไม่ว่าเรากำลังจับเวลาอยู่หรือไม่ก็ตามนั่นเองค่ะ
หน้าปัดย่อย ‘Subdial’ ทั้งหมด 3 ช่องบน Tissot Chrono XL หน้าปัดย่อยอันต่อมาเรียกว่า Chronograph’s Minute Hand Subdial หรือ หน้าปัดย่อยบอกนาทีของการจับเวลา ซึ่งหน้าปัดนี้จะย้อนกลับไปเชื่อมโยงกับเข็มวินาทีเข็มใหญ่สุดที่จะเดินเมื่อเรากดปุ่มเริ่มจับเวลา โดยเข็มที่หน้าปัดย่อยช่องนี้จะเป็นตัวบ่งบอกว่าเวลาเดินไปกี่นาทีแล้ว นับตั้งแต่ที่เราเริ่มกดปุ่มจับเวลา
สำหรับ Tissot Chrono XL หน้าปัด ย่อยนี้จะอยู่ตรงระหว่างเลข 9 นาฬิกา กับ 12 นาฬิกา โปรดสังเกตว่าจะมีถึงแค่เลข 30 ดังนั้นเข็มที่วนหนึ่งรอบจะหมายถึง 30 นาที ไม่ใช่ 60 นาทีนะคะ
หน้าปัดย่อยช่องสุดท้ายเรียกว่า Chronograph’s Hour Hand Subdial นั่นคือ หน้าปัดย่อยบอกชั่วโมงของการจับเวลา ซึ่งจะเชื่อมโยงกับการจับเวลาเช่นกัน โดยเข็มด้านในหน้าปัดย่อยช่องนี้จะเป็นเข็มที่บอกว่าเวลาเดินผ่านไปกี่ชั่วโมงแล้ว นับตั้งแต่เราเริ่มกดปุ่มจับเวลา เป็นต้นมา
สำหรับ Tissot Chrono XL หน้าปัดช่องนี้จะอยู่ตรงตำแหน่งระหว่าง 12 นาฬิกาและ 3 นาฬิกา โปรดสังเกตว่าจะมีตัวเลขถึงแค่ 10 แปลว่าวนหนึ่งรอบเท่ากับ 10 ชั่วโมง และที่พิเศษสำหรับ Tissot Chrono XL ก็คือ ในการจับเวลา 1 นาทีแรก เข็มในช่องหน้าปัดย่อยช่องนี้จะหมุนอย่างรวดเร็วเพื่อจับเวลาในหน่วยระดับ “Millisecond” (มิลลิวินาที) ซึ่งใน 1 วินาทีจะมี 10 มิลลิวินาที ต่อเมื่อครบ 1 นาทีแรกเรียบร้อยแล้ว เข็มในหน้าปัดย่อยนี้ก็จะกลับไปทำหน้าที่บอกหน่วยชั่วโมงเช่นเดิม ถือเป็นฟังก์ชั่นที่เพิ่มการจับเวลาให้ละเอียดขึ้นกว่าเดิมที่ทาง Tissot เพิ่มเข้ามาให้เป็นพิเศษใน Tissot Chrono XL เลยทีเดียว
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ
นาฬิกา tag heuer นี้ น่าสนใจน่าไปซื้อมาใส่มาก ๆ เลยใช่ไหมล่ะค่ะ ต้องรีบไปจับจองเป็นเจ้าของกันนะคะ